EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ

ดูวิดีโอตอนนี้ EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2566
ป.วิ.พ. มาตรา 143, 144, 271, 360
—-
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
___________________________
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
————-
มาตรา ๑๔๓ ถ้าในคำพิพากษาหรือคำสั่งใด มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ และมิได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เมื่อศาลที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาด หรือข้อผิดหลงเช่นว่านั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ย่อมอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ให้ยื่นต่อศาลดังกล่าวแล้ว โดยกล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือโดยทำเป็นคำร้องส่วนหนึ่งต่างหาก
การทำคำสั่งเพิ่มเติมมาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม
เมื่อได้ทำคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม เว้นแต่จะได้คัดสำเนาคำสั่งเพิ่มเติมนั้นรวมไปด้วย
———–
มาตรา ๑๔๔ เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(๑) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามมาตรา ๑๔๓
(๒) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียว ตามมาตรา ๒๐๙ และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา ๕๓
(๓) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา ๒๒๙ และ ๒๔๗ และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาตามมาตรา ๒๕๔ วรรคสุดท้าย
(๔) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓
(๕)[๙๔] การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา ๒๗๑
ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๖ และ ๒๔๐ ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง
————-
มาตรา ๒๗๑[๒๗๒] ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีซึ่งมีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับคดีตามมาตรา ๒๗๖ และมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓ (๒) และ (๓) ให้ศาลที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีนอกเขตศาล ให้ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีมีอำนาจตั้งให้ศาลอื่นบังคับคดีแทนได้ หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีแทนทราบพร้อมด้วยสำเนาหมายบังคับคดีหรือสำเนาคำสั่งกำหนดวิธีการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลดังกล่าวแจ้งให้ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีทราบโดยไม่ชักช้า และให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีแทนตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือมีคำสั่งอื่นใดเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไป
ถ้าเป็นการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง ให้ศาลที่บังคับคดีแทนส่งทรัพย์สินที่ได้จากการยึดหรืออายัดหรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีเพื่อดำเนินการไปตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลโดยบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้ศาลที่บังคับคดีแทนมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับคดีใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น รวมถึงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องได้ เว้นแต่เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นและแจ้งผลการบังคับคดีไปยังศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีแล้ว ให้เป็นอำนาจของศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีเท่านั้น
———-
มาตรา ๓๖๐[๓๖๑] การบังคับคดีในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้หรือแสดงว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลใดได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ทรัพยสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หากทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์ที่มีทะเบียนและมีเหตุขัดข้องไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลดังกล่าวอาจมีคำขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้มีสิทธิมีชื่อในทะเบียนให้เป็นไปตามคำสั่งศาล
……

EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ“, จากแหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=iU-v7WxdLts

แฮชแท็กสำหรับ EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ: #EP1657 #คำรองครงกอนยงไมมคำสงเกยวดวยการบงคบคดการรงวดแบงแยกจงไมเปนกระบวนพจารณาซำ

บทความ EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ มีเนื้อหาดังต่อไปนี้: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2566
ป.วิ.พ. มาตรา 143, 144, 271, 360
—-
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
___________________________
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
————-
มาตรา ๑๔๓ ถ้าในคำพิพากษาหรือคำสั่งใด มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ และมิได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เมื่อศาลที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาด หรือข้อผิดหลงเช่นว่านั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ย่อมอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ให้ยื่นต่อศาลดังกล่าวแล้ว โดยกล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือโดยทำเป็นคำร้องส่วนหนึ่งต่างหาก
การทำคำสั่งเพิ่มเติมมาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม
เมื่อได้ทำคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม เว้นแต่จะได้คัดสำเนาคำสั่งเพิ่มเติมนั้นรวมไปด้วย
———–
มาตรา ๑๔๔ เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(๑) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามมาตรา ๑๔๓
(๒) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียว ตามมาตรา ๒๐๙ และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา ๕๓
(๓) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา ๒๒๙ และ ๒๔๗ และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาตามมาตรา ๒๕๔ วรรคสุดท้าย
(๔) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓
(๕)[๙๔] การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา ๒๗๑
ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๖ และ ๒๔๐ ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง
————-
มาตรา ๒๗๑[๒๗๒] ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีซึ่งมีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับคดีตามมาตรา ๒๗๖ และมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓ (๒) และ (๓) ให้ศาลที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีนอกเขตศาล ให้ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีมีอำนาจตั้งให้ศาลอื่นบังคับคดีแทนได้ หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีแทนทราบพร้อมด้วยสำเนาหมายบังคับคดีหรือสำเนาคำสั่งกำหนดวิธีการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลดังกล่าวแจ้งให้ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีทราบโดยไม่ชักช้า และให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีแทนตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือมีคำสั่งอื่นใดเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไป
ถ้าเป็นการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง ให้ศาลที่บังคับคดีแทนส่งทรัพย์สินที่ได้จากการยึดหรืออายัดหรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีเพื่อดำเนินการไปตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลโดยบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้ศาลที่บังคับคดีแทนมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับคดีใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น รวมถึงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องได้ เว้นแต่เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นและแจ้งผลการบังคับคดีไปยังศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีแล้ว ให้เป็นอำนาจของศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีเท่านั้น
———-
มาตรา ๓๖๐[๓๖๑] การบังคับคดีในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้หรือแสดงว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลใดได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ทรัพยสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หากทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์ที่มีทะเบียนและมีเหตุขัดข้องไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลดังกล่าวอาจมีคำขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้มีสิทธิมีชื่อในทะเบียนให้เป็นไปตามคำสั่งศาล
……

คำหลักสำหรับ EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ: [คำหลัก]

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ:
ขณะนี้วิดีโอนี้มียอดดู 21 วิดีโอสร้างขึ้นเมื่อ 2024-09-27 14:16:07 คุณต้องการดาวน์โหลดวิดีโอนี้โดยไปที่ลิงก์ต่อไปนี้: https://www.youtubepp.com/watch?v=iU-v7WxdLts, แท็ก: #EP1657 #คำรองครงกอนยงไมมคำสงเกยวดวยการบงคบคดการรงวดแบงแยกจงไมเปนกระบวนพจารณาซำ

ขอขอบคุณที่รับชมวิดีโอ: EP1657 คำร้องครั้งก่อนยังไม่มีคำสั่งเกี่ยวด้วยการบังคับคดีการรังวัดแบ่งแยกจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ